ตึกชิโน โปรตุกีส
ลักษณะสถาปัตยกรรมของตึกชิโนโปรตุกีสเหล่านี้ ในยุคแรกมีอิทธิพลของจีนอยู่มาก การก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นตึกแถว 2 ชั้น หรือชั้นเดียว กำแพงหนา เพราะใช้ตัวกำแพงรับน้ำหนัก กระเบื้องหลังคาเป็นกระเบื้องโค้งแบบจีน รูปทรงหลังคา ตลอดจนประตูหน้าต่างและส่วนต่าง ๆ ล้วนเป็นแบบจีนทั้งสิ้น สมัยต่อมาจึงเริ่มมีการผสมผสานกับสถาปัตยกรรมแบบยุโรป เรียกว่า สถาปัตยกรรมแบบ ชิโนโปรตุกีส (Chinois Postugess) คำว่า"ชิโนโปรตุกีส" มาจากคำว่า “ชิโน” หมายถึงคนจีน และคำว่า “โปรตุกีส” หมายถึง โปรตุเกส ซึ่งมีลักษณะเด่นคือ เป็นตึกแถวสองชั้น ชั้นล่างแบ่งพื้นที่ใช้สอย ตามความลึก ภายในอาคารมักมี "ฉิ่มแจ้" หรือบ่อน้ำบาดาล และเจาะช่องหลังคา ให้อากาศถ่ายเท และแสงส่องเข้าตัวอาคาร จึงทำให้ภายในบ้านเย็นสบาย ชั้น 2 เป็นห้องนอน ด้านหน้าของตึกแถวมีทางเดินเท้าเป็นซุ้มโค้ง ที่มีชั้นสองที่ออกมาข้างหน้าเป็นที่หลบฝนและแดด เชื่อมต่อกันตลอดแนวตึกแถว ภาษาไทยเรียกทับศัพท์ว่า “อาเขต” หรือที่ภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า “หง่อคาขี่” อาคารภายในตัวเมืองภูเก็ตที่สร้างขึ้นสมัยเกือบร้อยปีมาแล้ว เมื่อครั้งที่กิจการเหมืองแร่เจริญใหม่ๆ มี ลักษณะรูปแบบภายนอก เป็นแบบตะ
วันตก
ส่วนประตูและหน้าต่างเป็นแบบจีน ตัวอาคารที่มีส่วนลึกมากกว่าส่วนกว้าง
หน้าประตูเป็นไม้ลายฉลุ ปัจจุบันสามารถพบเห็นสถาปัตยกรรมแบบชิโน -โปรตุกีส
ได้ทั่วไปบริเวณถนนถลาง ถนนดีบุก ถนนกระบี่ ถนนพังงา ถนนเยาวราช ถนนกระ
และซอยรมณีย์ นอกจากนี้ยังมีตึกโบราณ ที่มีสถาปัตยกรรมแบบยุโรป ได้แก่
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ศาลจังหวัดภูเก็ต และตึกบริเวณสีแยกถนนภูเก็ต
ตัดกับถนนพังงา เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น